นักเขียนเกี่ยวกับพระธรรมและคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนหน้านี้เราเคยเป็นมัคทายกที่วัดห่างไกลตามต่างจังหวัด หลังจากสวดมนต์อยู่ได้สามปีก็เกิดการเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาขึ้น และได้ตัดสินใจบวชเณรอยู่
บทความธรรมะสำหรับฆราวาส ทิศ 6
บทความธรรมะสำหรับฆราวาส ทิศ 6 ทิศ 6 หรือ 6 ทิศ หมายถึงอะไร? มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง? เป็นเรื่องที่สามารถศึกษากันได้ ที่สำคัญคือเมื่อท่านทราบแล้ว เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติตามทันที เพื่อความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๑. ปุรัตถิมทิส แปลว่า ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้มีอุปการคุณคนแรก ของเราเพราะว่าท่านก้าวเข้ามารับผิดชอบต่อชีวิตของเราก่อนใครๆ ในโลก และทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตเลือดเนื้อ รวมทั้งความเป็นคน เราได้มาจากท่านทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงจัดให้ท่านทั้งสองมาอยู่ข้างหน้า เป็นทิศเบื้องหน้าของเรา
บทความธรรมะสำหรับฆราวาส มรรคมีองค์ 8
คำว่า "มรรคมีองค์8" คำนี้ได้ยินและได้อ่านเจอบ่อยมาก ไม่เข้าใจครับอยากให้ผู้รู้ช่วยอธิบายให้ด้วยครับว่าคืออะไร กราบขอบพระคุณล่วงหน้ามากๆครับ มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า "ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ"( the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ :factors or constituents of the Path) มีดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท ( Right View; Right Understanding)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป
( Right T
บทความพระธรรมเกี่ยวกับฆราวาส โลกธรรม 8
บทความพระธรรมเกี่ยวกับฆราวาส โลกธรรม 8 ตามนัยแห่งคำสอนของศาสนาพุทธ ความจริงซึ่งมีอยู่คู่กับโลกคือ หมู่สัตว์เรียกว่า โลกธรรมมีอยู่ 8 ประการคือ
1. มีลาภ 2. เสื่อมลาภ 3. มียศ 4. เสื่อมยศ 5. สรรเสริญ 6. นินทา 7. สุข 8. ทุกข์
ใน 8 ประการนี้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
1. ฝ่ายดีหรือฝ่ายกุศล ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
2. ฝ่ายไม่ดีหรือฝ่ายอกุศล ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์
โลกธรรม 8 ประการนี้ เกิดขึ้นได้และเสื่อมสลายไปได้
ส่วนว่าการเกิดขึ้น และเสื่อมสลายไปจะเกิดขึ้นกับใคร และเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย 2 ประการดังต่อไปนี้
1. การประกอบกุศลกรรม และอกุศลกรรมในปัจจุบัน
บทความธรรมะ อิทธิบาท 4
บทความธรรมะ อิทธิบาท 4 “อิทธิบาท 4” อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงาน หากสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทั้ง 4 ข้อได้ ผลสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
1.ฉันทะ | การมีใจรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า Where there is the will, there is the way. ที่ใดมีความปรารถนาอันแรงกล้า ที่นั่นย่อมมีหนทางเสมอ
การสร้างฉันทะ เราต้องเลือกที่จะศรัทธาบางอย่าง ที่สำคัญคือต้องหมั่นตรวจสอบศรัทธานั้น ว่าดีต่อตัวเองและต่อผู้อื่นหรือไม่ หากดีทั้งสองอย่างจึงมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ การทำงานด้วยความ
บทความธรรมะเรื่อง พรหมวิหาร 4
บทความธรรมะเรื่อง พรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร 4 ประการ คือ ธรรมครองใจ 4 ประการ ที่ทำให้บุคคลในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติในทางอันประเสริญทั้งต่อตน และผู้อื่น ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ คือ
1. เมตตา หมายถึง ความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา หมายถึง ความประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีสรรเสริญในความสุขที่ผู้อื่นได้รับ
4. อุเบกขา หมายถึง ความวางใจเป็นกลางต่อความสุข และความทุกข์ที่มีต่อตน และผู้อื่นได้รับ
อรรถาธิบายเพื่มเติม พรหมวิหาร 4
1. เมตตา
เมตตา แห่งพรหมวิหาร 4 เป็นความปรารถนาหรือความประสงค์อันเกิดขึ้นในจิตที่จะยังให้ผู้อื่นมีความสุข ภายใต้จิตอันบริสุทธิ์ อันจักนำ
บทความพระธรรม เรื่องสังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์
บทความพระธรรมเรื่อง อริยสัจ 4
บทความพระธรรมเรื่อง อริยสัจ 4 อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
1. ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ คนทุกคนต่างก็เคยพบกับความทุกข์ หรือประสบปัญหาบางอย่างมาแล้วทั้งนั้น เช่น นักเรียนที่สอบตกก็เป็นทุกข์ เศรษฐีที่หาเงินได้ยังไม่มากพอตามที่ตนต้องการก็เป็นทุกข์ คนจนก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งความทุกข์และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีได้ทุกขณะ ความจริงก็คือว่าความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเราจะต้องไม่ประมาท